ความต่างของครีมกันแดดใน USA

ความต่างของครีมกันแดดใน USA

 

 

ที่ US กำหนดให้ครีมกันแดดเป็นยาที่วางขายได้ทั่วไป (OTC – Over The Counter Medication) ต้องมีการทดลองทั้งในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพค่อนข้างเข้มงวดเหมือนเป็นยาชนิดหนึ่ง

ในขณะที่ยุโรปกำหนดให้ครีมกันแดดเป็นเครื่องสำอางจึงไม่จำเป็นต้องทดสอบมากนัก

 

จากในรูปจะเห็นว่า USA มีสารกันแดดแบบ mineral ที่ FDA Approved แค่ 2 ตัวเอง รู้จักกันดี Zinc และ Titanium

จนปี 2014 ก็มีกฎหมายใหม่ออกมา ยอมให้ FDA อนุโลมสารกันแดดที่ประเทศอื่นใช้อยู่ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่

– Amiloxate

– Bemotrizinol (Tinosorb S, Parsol Shield, Escalol S)

– Bisoctrizole (Tinosorb M, Eversorb M, Milestab 360)

– Drometrizole Trisiloxane (Mexoryl XL)

– Ecamsule (Mexoryl SX)

– Enzacamene (Eusolex 6300, Parsol 5000)

– Iscotrizino (Uvasorb HEB)

– Octyl Triazone (Uvinuk T150)

 

แต่เชื่อไหมว่าจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีตัวไหนได้อนุมัติอย่างเป็นทางการเลย

สารกันแดดตัวล่าสุดที่ผ่านการอนุมัติจาก FDA คือตั้งแต่ปี 1999!!

 


 

ส่วนผสมล้าหลังยังไม่พอ บางรัฐยังมีข้อกำหนดที่ต่างกันออกไปด้วย เช่น Octinoxate จะไม่อนุญาตให้วางขายในฮาวายและฟลอริด้า

ความเข้มข้นที่กำหนดก็น้อยกว่า เช่น Avobenzone ซึ่งเป็นสารกันแดด 1 ในไม่กี่ตัวที่กัน UVA ได้ดี ก็ถูกกำหนดให้ใช้ได้แค่ 3% ในขณะที่ยุโรปให้ถึง 5%

แล้วยังมีการห้ามไม่ให้ผสมส่วนผสมบางอย่างเข้าด้วยกัน เช่น Avobenzone ห้ามผสมกับสารกันแดดแบบ mineral

แม้สารกันแดดแบบ mineral จะดีกว่า แต่ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงก็ยังต้องใช้ทั้งแบบ mineral และ chemical ผสมกันไปจึงจะกันได้ดีทั้ง UVA และ UVB

นอกจากนี้ยังไม่อนุญาตให้ใช้สารกันแดด mineral ในรูปแบบนาโน แปลว่าแม้ประสิทธิภาพการกันแดดอาจจะพอๆ กันแต่จะขาววอกกว่าแน่นอน

ด้วยข้อกำหนดมากมายใน US ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะมีครีมกันแดดที่กันได้ดี เสถียร และเนื้อบางเบาถูกใจลูกค้า แม้จะเป็นบริษัทใหญ่มีเงินลงทุนเยอะก็ตาม

 

May be an image of text that says 'Meaning of Broad Spectrum (EU Vs US) UVB 2.0 1.8- 1.6 1.4 UVA 1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0 290 CW=373 373 300 310 CW cW=377 377 320 330 340 350 360 Wavelength (nm) Red 370 380 390 400 Better UVA protection US Broad Spectrum (CW>370) EU Broad Spectrum (UVA/SPF 1:3) Blue Worse UVA protection US Broad Spectrum (CW>370) X EU Broad Spectrum (UVA/SPF 1:3) eAmerican Academy of Dermatology 77(1): 42-47'

 

ใน UK ค่าการป้องกันรังสี UVA จะใช้ดาว โดย 5 ดาวคือกันได้ดีที่สุด

ยุโรปใช้โลโก้ UVA ส่วนประเทศอื่นเช่น ไทย เกาหลี จะใช้ PA+ ยิ่ง+ มากคือกันได้มากนั่นเอง

เวลาเราเห็นครีมกันแดดที่เขียนว่า Broad Spectrum คนส่วนใหญ่จะนึกว่ากันได้ทั้ง UVA + UVB

แต่ในความเป็นจริง คำนี้ที่ US หมายถึง ครีมกันแดดนี้ 90% กันรังสีได้ถึงที่ความยาวคลื่น 370nm ซึ่งถือเป็นครึ่งเดียวของความยาวคลื่นของ UVA1 (320-400nm)

แปลว่ากันรังสี UVA1 ได้แค่อย่างมาก 10% เท่านั้นเอง

ส่วนของยุโรปจะเคร่งกว่าเพราะกำหนดว่าอัตราส่วนของ UVA:SPF จะต้องมากกว่า 1:3

 


 

มีงานวิจัยตีพิมพ์ในปี 2017 ทดสอบครีมกันแดด 20 ตัว ที่วางขายในอเมริกา พบกว่า 19 ตัว (95%) ผ่านมาตรฐาน broad spectrum ของ US

แต่มีแค่ 11 ตัวเท่านั้น (55%) ที่ผ่านมาตรฐานยุโรป

จากในกราฟจะเห็นความแตกต่างระหว่างครีมกันแดด 2 ตัวที่ใช้ในงานวิจัย

โดยทั้ง 2 ตัวมีค่า SPF เท่ากัน และติดฉลาก Broad Spectrum ใน US แต่ค่าการป้องกัน UVA1 นั้นต่างกันมาก

ซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ เพราะส่วนผสมที่ป้องกัน UVA1 ได้ดีและใช้ได้ในอเมริกาค่อนข้างมีจำกัดมาก แถมยังควบคุมการใช้ Avobenzone ซึ่งกัน UVA1 ได้ดีอีกตะหาก

นอกจากนี้สารตัวอื่นที่กัน UVA1 ได้ดีซึ่งใช้ได้ใน EU เช่น Tinosorb S หรือ Tinosorb M ก็ไม่อนุญาตให้ใช้ใน US

 


 

แต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดแตกต่างกันไป แต่ข้อกำหนดเรื่องครีมกันแดดของ US กับ EU นี่แทบจะเรียกได้ว่าหนังคนละม้วน เกือบจะเป็นผลิตภัณฑ์คนละตัวกันเลยก็ว่าได้

แหม… อยากจะรู้จริงเลยว่ากันแดด 11 ตัวที่ผ่านมาตรฐานยุโรปในงานวิจัยนั้นมีอะไรบ้าง เสียดายที่เค้าไม่ยอมบอก รู้แค่ว่าเค้าซื้อตัวที่ขายดีเป็นอันดับต้นๆ มาจาก CVS ในซานฟรานกับนอร์ทแคโรไลน่า เพื่อมาทำงานวิจัยเท่านั้นเอง

 

May be an image of text that says 'Sunscreen Regulation Category EU- cosmetic USA- over the counter (OTC) drug. Some states have their own rules for some ingredients and labelling e.g. California, Key West Florida, Hawaii Canada-listed as a Natural Health Product (if containing mineral ingredients or PABA) or an OTC drug (if contains chemical ingredients)'

May be an image of text that says 'Sunscreen Regulation Category Australia -Rules are more complex but focus on 1er and 2er purpose of the product. They are either a Therapeutic sunscreen (most products) or Cosmetic Sunscreen (when primary purpose is not as a sunscreen e.g. make up with SPF included). New Zealand- Cosmetic with regulation similar to EU China-Special Special Use Cosmetics that requires specitic registration and testing above other cosmetics.'

May be an image of text that says 'Sunscreen Regulation Category MERCOSUR countries Argentina, Brazil, Paraguay, Uruguay, and Venezuela.- Cosmetic with specific regulations for all sunscreen products Middle East/Arabic Countries Cosmetic with regulation similar to EU ASEAN countries (The Association of Southeast Asian Nations) -same framework as EU with minor differences in varnıng labels'

May be an image of text that says 'Sunscreen Regulation Category S.Korea- Functiona Cosmetics that require registration and specific testing China-Sp Use Cosmetics that requires specific registration and additional testing Russia- Cosmetic with regulation similar to EU Japan- Cosmetic'

 

แต่ละประเทศก็มีข้อบังคับต่างๆ กันไป แต่จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1. Cosmetics

หลายประเทศจัดครีมกันแดดให้อยู่ในหมวดนี้ เพราะถือว่าการป้องกันผิวจากแสงแดดเป็นผลจากเครื่องสำอาง การควบคุมจะไม่ค่อยเคร่งครัดมากแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีกฎควบคุมแต่อย่างใด เพราะยังต้องผ่านการทดสอบว่าปลอดภัยและผ่านข้อกำหนดต่างๆ สำหรับครีมกันแดดอยู่ดี

2. OTC (Over The Counter) Drug

ประเทศในกลุ่มนี้ เช่น USA ถือว่าครีมกันแดดเป็นยาสามัญที่หาซื้อได้ทั่วไปแต่กฎข้อบังคับนั้นเข้มงวดเท่ากับยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แม้จะหาซื้อได้ง่ายกว่าก็ตาม

 


 

ใน US และแคนาดาจะอนุญาตให้ขึ้นฉลากว่า Broad Spectrum ต่อเมื่อค่า SPF มากกว่า 15

ในบางประเทศกำหนดว่า ห้ามเคลมว่าป้องกันแสง UV ได้ทุกชนิด หรือทาครั้งเดียวอยู่ได้ทั้งวัน

ประเทศส่วนใหญ่จะกำหนดค่า SPF สูงสุดที่จะเคลมลงฉลากได้ที่ 50+ เท่านั้น ห้ามเขียนมากกว่านี้

 


 

Credit: Dr. Rakesh Patalay

Consultant Dermatologist.

Leave a Reply